เข้าทางเดียวกับกับเขาปลาร้า อยู่ก่อนถึงเขาปลาร้าประมาณ 1 กิโลเมตร ถ้ำนี้ถูกค้นพบโดยพระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี พ.ศ. 2522 พระครูได้ปีนลงไปในหุบเขานี้ จึงพบว่ามีต้นตาดเต็มไปหมด (ต้นตาดเป็นไม้ ดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม) จึงเจาะปากถ้ำเพื่อเป็นทางเข้าในปี พ.ศ. 2527 ต่อมากรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ เพราะที่นี่ มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แปลกและมีพันธุ์ไม้หายาก อยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำประทุน และมีการจัดทำเป็นเส้นทางเดินศึกษา ธรรมชาติระยะทาง 700 เมตร ใช้เวลาเดินชมประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้ำที่เป็นทางเดินเข้าหุบป่าตาดนั้นมืดสนิท ระยะทางประมาณ 100 เดินไม่นานจะถึงบริเวณปล่องขนาดใหญ่ที่แสงส่องลงมาได้และจะพบป่าตาด ให้ความรู้สึกเหมือนว่าได้มาอยู่ในโลกยุคดึกดำบรรพ์ นอกจาก ต้นตาดแล้วที่นี่ยังพบไม้หายากพันธุ์อื่น ๆ เช่น เต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก เป็นต้น ในบริเวณหุบเขานี้มีลักษณะคล้ายป่าดงดิบ และยังมีความ ชุ่มชื้นสูง แสงจะส่องถึงพื้นได้เฉพาะตอนเที่ยงวันเพราะมีเขาหินปูนสูงชันล้อมรอบ มีความร่มรื่นเหมาะแก่การเดินชมธรรมชาติ การเตรียม ตัวไปหุบป่าตาด ควรพกไฟฉายและยาทากันยุงไปด้วย
หุบป่าตาด รู้จัก ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาและยังคงความสวยงามของธรรมชาติ เบื้องหลังของเขาห้วยโศก ขุนเขาหินปูน ที่ดูสูงใหญ่แข็ง กระด้าง ซึ่งเป็นหนึ่งในขุนเขาที่อยู่ในการดูแลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปลาร้าแห่งนี้ ภายในจะมีป่าตาดที่มีรูปลักษณะ ์ดูคล้ายป่าดึกดำบรรพ์ซุกซ่อนตัวอยู่ หุบป่าตาดนั้นอยู่ก่อนทางขึ้นเขาปลาร้าประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อใกล้จะถึงหุบป่าตาดก็จะพบกับ สวนของชาวบ้าน ไร่ข้าวโพด แล้วก็ถึงป่าสะเดาอันร่มรื่นที่อยู่ด้านหน้าของทางเข้าป่าตาด ซึ่งมองภายนอกก็จะเห็นเป็นเพียงขุนเขา หินปูนสูงชันธรรมดา แต่หากพอเดินขึ้น บันไดปูนจากพื้นที่ให้บริการนักท่องเที่ยวสักหน่อยก็จะเห็นปากถ้ำเป็นโพรงมืดมีแสงสว่าง รำไรอยู่ปลายโพรง ช่องถ้ำนี้คือเส้นทางฝ่าความมืดสู่หุบป่าตาด ในระยะทางประมาณ 100 เมตร สามารถเดินฝ่าเข้าไปได้สบายๆ แต่ทางที่ดีควรพกไฟฉาย เทียน หรือไฟแช็ค ไปด้วยก็จะดี สำหรับคนที่มีไฟฉายส่องได้ไกลๆ เมื่อเข้าไปในถ้ำก็น่าลองส่องดูตามเพดาน เพราะจะเห็นว่ามีค้างคาวเกาะอยู่เต็มไปหมด ซึ่งค้างคาวนี่แหละทำให้ถ้ำทางเข้าสู่หุบป่าตาดเหม็นตลบ ด้วยกลิ่นขี้ของพวกมันนั่นเอง
พอหลุดพ้นออกจากปากถ้ำมาได้แล้ว เพื่อนๆ ก็จะไม่ผิดหวังเลย เพราะเมื่อผ่านพ้นความมืดก็จะเจอบันไดปูนทอดยาวลง
สู่หุบเขา ที่แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า เบื้องหลังของขุนเขาหินปูนจะมีห้องโถงของป่าใหญ่ซ่อนกายอยู่
สำหรับห้องโถงของหุบเขาที่มองเห็นกันแบบโดดเด่นก็จะมีอยู่ 2 ห้อง และต้นไม้ที่เป็นพระเอกในนี้ก็จะเป็นใครไปเสีย ไม่ได้นอกจาก ?ต้นตาด? หรือ ?ต๋าว? (Areaga penata) ซึ่งขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จนเป็นที่มาของชื่อ ?หุบป่าตาด? ซึ่งต้นตาดนี้เป็น พันธุ์ไม้ที่มีลักษณะคล้ายต้นปาล์ม ใบเป็นแฉกแผ่กว้าง มีลูกออกมาเป็นทะลาย กลมๆ เล็กๆ ซึ่งชาวบ้านแถวนั้นบอกว่าลูกอ่อนๆ สามารถนำ ไปต้มกินได้ นอกจากนี้ในหุบป่าตาดก็ยังมีต้นไม้ที่น่าสนใจอีก อย่างเช่น ต้นกระพง ยมหิน และต้นไทรดูประหลาดๆ ซึ่งใครอยากรู้ว่า ต้นไหนเป็นอย่างไรก็ต้องไปยืนอ่านป้ายสื่อความหมายในหุบป่าตาดเอาเอง โดยมีทางเดินตัวหนอนที่ดูหลุดอารมณ์ป่าดึกดำบรรพ์
ปูให้เดินชมป่าตาดในโถงแรก เมื่อเดินตามทางตัวหนอนไปเรื่อยๆ ก็จะไปสิ้นสุดที่โพรงถ้ำ ที่มีลักษณะเป็นช่องประตูขนาดใหญ่ ่เดินทะลุถึงกันได้ แถมบางช่วงมีลมอ่อนๆ พัดผ่านคลายร้อนเป็นระยะๆ ซึ่งในโพรงถ้ำนี้นอกจากจะมีหินรูปร่างแปลกๆ ให้ชมแล้ว มุมมองที่มองออกจากถ้ำมาเจอกับหุบป่าตาด ก็ถือเป็นมุมมองหนึ่งที่สวยงาม ใครพกกล้องถ่ายรูปไป ไม่น่าพลาดการหามุมถ่ายรูปจากบริเวณนี้

ที่อยู่ :
ต.ทุ่งนางาม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
Tag :
หุบป่าตาด, ทุ่งนางาม, ลานสัก, อุทัยธานี